ระบบเติมอากาศในบ่อบำบัดน้ำเสีย




ระบบเติมอากาศในบ่อบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ เป็นการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่น เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ เป็นเครื่องเติมอากาศที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับเติมออกซิเจนในบ่อเติมอากาศในระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้กับระบบบ่อบำบัดน้ำเสียทุกประเภท บ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา

เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ Submersible เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ TSURUMI เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียแบบจุ่มน้ำ บำบัดน้ำเสีย เติมอากาศนากุ้ง บ่อกุ้ง บ่อปลา กังหันตีน้ำ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำสำหรับโรงงานบำบัดน้ำเสียและโรงงานอุตสาหกรรม จากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย จากน้ำใต้ดิน ระบบเติมอากาศแบบนี้ออกแบบให้มีการเติม อากาศพร้อมกับมีการกวนน้ำเสียให้เข้ากัน ทำให้ประสิทธิภาพการเติมอากาศมากขึ้น 30 เปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับการเติมอากาศด้วย หัวจ่ายอากาศ การเลือกใช้เครื่องเติมอากาศให้เหมาะสม กับระบบบำบัดน้ำเสีย สภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย จะมี ค่าความต้องการออกซิเจนแตกต่างกันขึ้น อยู่กับอัตราการไหลและปริมาณสารอินทรีย์ ที่อยู่ในระบบบำบัดน้ำเสีย เครื่องเติมอากาศ ทำหน้าที่สำคัญสองอย่างคือ ทำหน้าที่เติมออกซิเจนลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำหน้าที่ในการกวนน้ำเพื่อกระจายออกซิเจนให้ไปทั่วถึงบ่อเติมอากาศไม่ให้เกิด Dead zone

ชนิดของเครื่องเติมอากาศ  มีอยู่หลายหลายชนิด 1. AIR PUMP 2. THREE LOBES BLOWER 3. REGENERATIVE BLOWER 4. AERATOR หรือ EJECTOR  เครื่องเติมอากาศ แต่ละชนิดก็มีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามระบบการทำงานของเครื่องเติมอากาศ  1.AIR PUMP คือเครื่องเติมอากาศที่สามารถผลิตกำลังแรงลมได้ตั้งแต่ 10 -4250 ลิตร/ นาที โดยมีหลักการทำงาน 2 ประเภท 1.1 Double Diaphragm คือ หลักการทำงานของแผ่นไดอะแฟรม ในการผลิตลมได้สูงสุดไม่เกิน 200 ลิตร/ นาที ที่แรงดัน 2 เมตรน้ำ ซึ่งมีความเร็วลมออกมาสม่ำเสมอ และ ประหยัดพลังงานกว่าเครื่องเติมอากาศแบบอื่นๆ  1.2 Rotary Vane Type คือหลักการทำงานของการหมุนใบพัด (VANE)ให้สามารถผลิตกำลังแรงลมออกมา โดยมีกำลังแรงลมสูงสุดไม่เกิน 4250 ลิตร/นาที ที่แรงดัน 2 เมตรน้ำ เวลาที่เครื่องเติมอากาศชนิดนี้ทำงานจะมีเสียงเบา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน   2.THREE LOBES BLOWER คือเครื่องเติมอากาศที่สามารถผลิตกำลังแรงลมได้ตั้งแต่ 270 – 191,300 ลิตร/นาที โดยมีหลักการทำงาน 2 ประเภท  2.1 THREE LOBES BLOWER TYPE SPUR ROTOR มีหลักการทำงานแบบ THREE LOBES แบบตรง จำนวน 2 อัน และทำการหมุนเพื่อผลิตลมออกมา ดูแลรักษาง่ายกว่า แบบ SUBMERSIBLE  2.2 THREE LOBES BLOWER TYPE HELICAL ROTOR มีหลักการทำงานแบบ THREE LOBES แบบเกลียว จำนวน 2 อัน และทำการหมุนเพื่อผลิตลมออกมา เสียงเบากว่า THREE LOBES แบบตรง   3. REGENERATIVE BLOWER คือเครื่องเติมอากาศที่สามารถผลิตกำลังแรงลมได้ตั้งแต่ 650 – 10,200 ลิตร/นาที มีหลักการทำงานแบบหมุนใบพัด ใน 1 พัดจะมีหลายซีกเพื่อส่งแรงลมระหว่างซีกเพื่อเพิ่มแรงดันลม เป็นชนิดที่มีปริมาณลมมากกว่าชนิดอื่น  4. SUBMERSIBLE AERATOR or SUBMERSIBLE EJECTOR คือ เครื่องเติมอากาศที่สามารถผลิตกำลังลมได้ตั้งแต่ 133 – 6,666 ลิตรต่อนาที โดยต้องแช่ตัวปั้มลงไปในน้ำ และทำการดูดอากาศจากด้านนอกบ่อลงไป ซึ่งจะทำการดูแลรักษายากที่สุด และโอกาสเสียมากที่สุด

ประโยชน์ของเครื่องเติมอากาศ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้เครื่องเติมอากาศ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยการเติมออกซิเจนให้น้ำ โดยใช้ เครื่องเติมอากาศ หรือ Aerator เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เพียงพอ ต่อการนำไปใช้ย่อยสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดค่า BOD หรือค่าความสกปรกของน้ำเสีย หลักการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียโดยการใช้เครื่องเติมอากาศ โดยปกติแล้วการบำบัดน้ำเสียด้วยการใช้เครื่องเติมอากาศ จะออกแบบบ่อ ให้มีความลึกประมาณ 2-6 เมตร และมีระยะเวลาในการกัดเก็บน้ำ ประมาณ 3-10 วัน แล้วตัวเครื่องเติมอากาศก็จะทำหน้าที่ ผสมตะกอนจุลินทรีย์ ออกซิเจนละลายในน้ำและน้ำเสีย และปรับสภาพน้ำทิ้งก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ

การบำบัดน้ำเสียโดยใช้เครื่องเติมอากาศ อุปกรณ์ที่สำคัญของระบบบ่อเติมอากาศ ได้แก่เครื่องเติมอากาศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ออกซิเจนแก่น้ำเสีย เครื่องเติมอากาศแบ่งออกได้ 4 แบบใหญ่ ๆ คือ เครื่องเติมอากาศที่ผิวหน้า (Surface Aerator) เครื่องเติมอากาศเทอร์ไบน์ (Turbine Aerator) เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ (Submersible Aerator) และเครื่องเติมอากาศแบบหัวฉีด (Jet Aerator)  เครื่องเติมอากาศที่ผิวหน้า (Surface Aerator) จะทำหน้าที่ตีน้ำที่ระดับผิวบนให้กระจายเป็นเม็ดเล็กๆ ขึ้นมาเพื่อสัมผัสกับอากาศเพื่อรับออกซิเจน ในขณะเดียวกันก็จะเป็นการกวนน้ำให้ผสมกันเพื่อกระจายออกซิเจนและมวลสารในน้ำเสียให้ทั่วบ่อ 

 
Visitors: 10,429